Saturday, June 14, 2014

ผลของยาเสพติดต่อระบบประสาท

ผลของสารเสพติดต่อสุขภาพและระบบประสาท

แอลกฮฮอล์

               แอลกอฮอล์ หรือ สุรา มีผลโดยตรงต่อระบบประสาท โดยกดการทำงานของระบบประ สาท การได้รับแอลกอฮอล์ขนาดสูงจะมีฤทธิ์คล้ายกับยาสลบ ได้แก่ ไม่รู้สึกตัว และกดการหาย ใจ แต่อาการในช่วงแรกๆของการดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ดื่มอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว เคลื่อนไหวมาก กว่าปกติ ตื่นตัว พูดมากขึ้น เนื่องจากช่วงแรกจะมีการเพิ่มขึ้นของสารสื่อประสาทที่ออกฤทธิ์กระ ตุ้นสมอง แต่เมื่อได้รับแอลกอฮอล์ปริมาณมากขึ้น พิษของแอลกอฮอล์ก็จะกดการทำงานของสมอง โดยเฉพาะ ก้านสมอง (Brain stem) และศูนย์ควบคุมการเต้นของหัวใจ (Reticular formation) ในก้านสมอง

พิษของแอลกอฮอล์ มีทั้ง แบบเฉียบพลัน และ แบบเรื้อรัง
  • แบบเฉียบพลัน หมายถึง ผู้ดื่มได้รับแอลกอฮอล์/สุราเข้าไปเป็นปริมาณมาก ส่งผลให้มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงขึ้นทันที แอลกอฮอล์ในเลือดระดับต่างๆจะส่งผลต่อระบบประ สาทดังนี้
    • ถ้าระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 30 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือดื่มสุรา 4 แก้วๆละ 1 ฝาขวดแม่โขง ผู้ดื่มจะมีอาการครึกครื้น สนุกสนานร่าเริง
    • ถ้าระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือดื่มสุรา 6 แก้วๆละ 1 ฝาขวดแม่โขง ผู้ดื่มจะมีอาการของการควบควบคุมการเคลื่อนไหวเสียไป ไม่สามารถควบคุมได้ดีเท่าภาวะปกติ
    • ถ้าระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือดื่มสุรา 12 แก้วๆละ 2 ฝาขวดแม่โขง ผู้ดื่มจะมีอาการเดินไม่ตรงทาง
    • ถ้าระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือดื่มสุรา 24 แก้วๆ ละ 2 ฝาขวดแม่โขง ผู้ดื่มจะเกิดอาการสับสน
    • ถ้าระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ผู้ดื่มจะมีอาการ ง่วง สับสน/งงงวย และซึม
    • ถ้าระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ผู้ดื่มจะเกิดอาการสลบ และอาจถึงตายได้

  • แบบเรื้อรัง หรือ โรคพิษสุราเรื้อรัง หมายถึงผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์/สุราอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เป็นระยะเวลานาน ส่วนใหญ่นานมากกว่า 10 ปี จนเกิดภาวะติดสุรา และมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ ต้องดื่มสุราตลอดเวลา ไม่สามารถควบคุมหรือหยุดหลังจากดื่มสุรา เมื่อหยุดสุราจะมีอาการลงแดง เช่น คลื่นไส้ เหงื่อออก สั่น ต้องเพิ่มปริมาณดื่มสุราขึ้นไปอีก และเพื่อให้มีความสุข ซึ่งเมื่อเกิดภาวะพิษสุราเรื้อรังนี้ ก็จะส่งผลให้ร่างกายส่วนต่างๆได้รับผล กระทบ เช่น
    • ตับ (โรคตับแข็ง)
    • ตับอ่อน (โรคตับอ่อนอักเสบ)


สารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับผลของแอลกอฮอล์


  • โอปีออยด์ (Opioids) เป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเอง เช่น Endorphin (เอนดอร์ฟิน) ออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายสดชื่น อารมณ์ดี แอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์โดยกระตุ้นสมองให้หลั่งสารโอปิออยด์ จึงพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ในระยะแรก ปริมาณไม่มาก จะทำให้อารมณ์ดี (Euphoria) เพราะร่างกายมีสารโอปิออยด์เพิ่มขึ้น


  • กาบา (Gamma-aminobutyric acid: GABA) เป็นสารสื่อประสาทที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำ งานของสมอง การดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มสาร GABA ผู้ดื่มจึงมีอาการง่วง และคลายความกังวล การเคลื่อนไหวผิดปกติ ในผู้ที่ดื่มเป็นประจำ เมื่อหยุดดื่มทันที ผู้ดื่มจะมีอาการตรงกันข้าม เนื่อง จากการทำงานของ GABA ลดลง จึงมีการกระตุ้นสมองมากขึ้น ก่อให้เกิดอาการกระวนกระวาย และอาการชักได้
  • กลูตาเมต (Glutamate) เป็นสารกระตุ้นการทำงานของสมอง แอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของกลูตาเมต เมื่อดื่มแอลกอฮอล์นานๆจะเกิดภาวะเป็นพิษ ส่งผลให้การรับรู้และการเรียนรู้เสียไป
  • สารสื่อประสาทอื่นๆ เช่น ซีโรโตนิน (Serotonin) และ โดปามีน (Dopamine) ก็ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทด้าน การเคลื่อนไหว อารมณ์ พฤติกรรม และความจำ

แอลกอฮอล์ส่งผลต่อระบบประสาทอย่างไร?

  • แอลกอฮอล์ปริมาณสูงจะส่งผล เช่น มึนเมา/ขาดสติ ซึม ปวดศีรษะ หมดสติ
  • การหยุดแอลกอฮอล์กะทันหันจะส่งผล เช่น สั่น ประสาทหลอน สับสน และชัก
  • ภาวะขาดสารอาหารจากโรคพิษสุราเรื้อรัง เช่น โรคเส้นประสาท ตาบอด สับสน และ สมองเสื่อม
  • ภาวะที่เป็นผลจากโรคพิษสุราเรื้อรัง เช่น สมองฝ่อ หัวใจโต กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ภาวะทางระบบประสาทที่เกิดจากโรคตับที่สาเหตุเกิดจากสุรา เช่น ตับแข็ง มะเร็งตับ ซึ่งส่งผลให้การทำงานของตับเสียไป จึงเกิดการคั่งของของเสีย/สารพิษที่ต้องถูกเผาผลาญโดยตับ เช่น เกิดการคั่งของสารไนโตรเจน (Nitrogen เช่น ในรูปแบบสารแอมโมนเนีย/Ammo nia) เป็นต้น ซึ่งปริมาณสารพิษเหล่านี้ที่สูงเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลเป็นพิษต่อสมองและระบบประ สาทส่วนอื่นๆด้วย จึงก่อให้เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาท เช่น สับสน นอนไม่หลับ/ไม่ง่วงนอน ขาดสมาธิ หลงลืม อาจถึงระดับโคม่า และเสียชีวิตได้

ยาบ้า (Methamphetamine)

               กลุ่มยาแอมเฟตามีน จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทกระตุ้นประสาท มีชื่อเรียกในกลุ่มผู้เสพว่ายาม้า หรือยาขยัน ปัจจุบันได้ถูกเรียกชื่อเป็นยาบ้าจัดเป็นยาที่มนุษย์ สังเคราะห์ขึ้นมาหลายตัว เช่น อีเฟดริน เมทแอมเฟตามีน เดกซ์แอมเฟตามีน และ เอ็กซ์ตาซี
ซึ่งเป็นแอมเฟตามีนในรุ่นที่สาม เป็นต้นฯ





การออกฤทธิ์ของยากลุ่มแอมเฟตามีน ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

1.ออกฤทธิ์กระตุ้นต่อระบบประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัวตลอดเวลา  นอนไม่หลับ
2.ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น
3.กดศูนย์ควบคุมการอยากอาหาร ทำให้เบื่ออาหาร ทานน้อยลง เป็นยาลดน้ำหนักได้
4.กระตุ้นศูนย์หายใจ ทำให้หายใจเร็วและแรงขึ้น
5.กระตุ้นระบบสมองส่วนหน้า  ทำให้เกิดอาการความคิดความอ่านแจ่มใสชั่วขณะ บางรายจะมีอาการสั่น




อาการของผู้เสพยาแอมเฟตามีน

         สำหรับผู้ที่เสพในปริมาณไม่มาก 20-30 กรัมต่อวัน           
           อาการที่มักจะตรวจพบ ได้แก่ เบื่ออาหาร ตื่นเต้นง่าย อยู่ไม่สุข มือสั่น ตัวสั่น เหงื่อออกมาก คลื่นไส้อาเจียน ผะอืดผะอมได้ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วและแรง อยู่ได้นานโดยไม่ต้องนอน ท้องเสียหรือท้องผูก ปาก และ จมูกแห้ง ริมฝีปากแตก ทำงานเกินปกติ หงุดหงิด ชอบทะเลาะวิวาท รูม่านตาเบิกกว้าง สูบบุหรี่จัด มวนต่อมวน



         ผลทางด้านจิตใจ
          จะเห็นได้ชัดเมื่อเสพเป็นจำนวนมาก จะเกิดอาการทางจิตเฉียบพลัน หรือเป็นบ้าขึ้นได้ชั่วระยะหนึ่ง อาการจะคล้ายผู้ป่วยโรคจิตหวาดระแวงเกิดอาการหลงผิด คิดว่ามีคนมาทำร้ายตนเอะอะคว้าอาวุธมาป้องกันตัวเอง หรือพยายามจะหนีซุกซ่อนตัวเอง พูดไม่รู้เรื่อง มักเห็นภาพหลอน ต่างๆนานา ซึ่งนำไปสู่อันตรายต่อตัวเองหรือผู้อื่น เช่นตกใจกลัวปีนตึกหรือเสา ถูกรถชน หรือหลงผิดว่า มีคนมาทำร้าย จึงทำร้ายผู้อื่นก่อน  บางรายที่ใช้ยามากๆอาจจะมีอาการไข้ขึ้น ความดันโลหิตสูงมาก ใจสั่น หายใจไม่ออก กล้ามเนื้อกระตุก ชัก หมดสติ ถึงตายได้



         เมื่อเสพเป็นระยะเวลายาวนาน 
           ทำให้สมองได้รับการกระตุ้นเสมอ โดยไม่ได้รับการพักผ่อน
ร่างกายฝืนให้ทำงานหนักตลอดเวลามีผลทำให้ร่างกายสุขภาพทรุดโทรมลงเกิดโรคตามมาง่าย เช่น
โรคติดเชื้อต่างๆ โรคตับอักเสบ โรคปอด ไตเสื่อม ผลต่อจิตใจเกิดอารมณ์แปรปรวน ภาวะทางจิตเสื่อมโทรมก่อให้เกิดโรคจิตเรื้อรังหรือบ้าได้ตลอดไป






คาเฟอีน (Caffeine)


“กาเฟอีน” สารสำคัญในเมล็ดกาแฟ

         นอกจากรสชาติและกลิ่นหอมเฉพาะตัวแล้ว กาแฟมีส่วนผสมที่สำคัญอีกอย่างที่เรียกว่า “กาเฟอีน” ซึ่งมีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทให้ตื่นตัว เมื่อกาเฟอีนถูกดูดซึมผ่านไปยังกระแสเลือดและไหลเวียนไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย จะเกิดการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ หลอดเลือด รวมถึงสมองและระบบประสาท การดื่มกาแฟจึงเปรียบเสมือนการเติมพลังงานให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวในการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะในยามที่ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียและต้องการพักผ่อน ซึ่งในเวลานั้นสมองของมนุษย์จะหลั่งสารสื่อประสาทติดต่อระหว่างเซลล์ประสาท ชื่อ “adenosine (อะ-ดิ-โน-ซีน)” ออกมา แต่พอเราดื่มกาแฟเข้าไป กาเฟอีนจะไปยับยั้งการทำงานของ adenosine ทำให้สมองเกิดอาการตื่นตัว ไม่ง่วงนอน นอกจากนี้กาเฟอีนยังมีผลต่อระบบขับถ่ายของเสียอีกด้วย 


         คาเฟอีนในกาแฟเป็นคาเฟอีนธรรมชาติที่มีฤทธิ์กระตุ้นต่อร่างกายชั่วคราวให้ร่างกายใช้พลังงานสำรอง(ไขมัน) โดยต้านการสลายของ c-AMP ที่ทำให้ต้องเพิ่มการสลายไกลโคเจนไปเป็นกลูโคส นอกจากกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารแล้ว ยังกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง(โดยเฉพาะส่วน Cerebral และ Medulla oblongata) และหัวใจโดยการไปยับยั้งการทำงานของอะดีโนซีน (Adenosine) ทำให้ปริมาณสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ต้องทำงานเพิ่มขึ้น ทำให้สมองตื่นตัวและมีสารซีโรโทนิน (Serotonin) ที่ทำให้เกิดความรู้สึกพอใจและมีความสุขเพิ่มขึ้น



ผลต่อระบบประสาทและสมอง

         การเพิ่มความตื่นตัว คลายง่วง และเพิ่มพลังความคิดของกาแฟเป็นผลที่บุคคลหลากหลายอาชีพต้องการ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาเตรียมสอบที่ต้องการอ่านหนังสือข้ามคืน แม่ค้าที่อยากให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าเวลาทำงาน หรือสถาปนิกที่อยากให้สมองโปร่งเพื่อคิดหาไอเดียใหม่ๆ แต่การดื่มกาแฟทำให้การตื่นตัวและประสิทธิภาพการทำงานของสมองดีขึ้นจริงหรือ

         การศึกษาโดยสถาบันวิจัยกองทัพแห่งสหรัฐอเมริกาได้พิสูจน์แล้วว่า กาแฟทำให้สมองมีความตื่นตัวและตอบสนองได้ฉับไวมากขึ้น แต่ผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองยังเป็นที่กังขาอยู่ นายแพทย์ Bennett Alan Weinberg ผู้แต่งหนังสือเรื่อง “โลกของกาเฟอีน” ได้กล่าวสรุปไว้ว่า “แม้ว่ากาแฟจะช่วยให้นักศึกษาจำนวนมาก อ่านหนังสือได้ทนทานขึ้นก็ตาม แต่ผลสรุปจากการทดลองต่าง ๆ ไม่ได้บ่งชี้ว่านักศึกษาเหล่านั้นมีความจำหรือการทำงานของสมองดีขึ้นแต่อย่างใด”


        คำกล่าวนี้เป็นการยืนยันว่า กาแฟเพียงแต่ทำให้หายง่วงนอนเท่านั้น ขณะที่ความจำและประสิทธิภาพสมองไม่ได้ดีขึ้นด้วยฤทธิ์ของกาแฟ นอกจากนี้การใช้กาแฟเพื่อลดอาการง่วงนอนในเวลากลางคืนอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ร่างกายและสมองที่ต้องการพักผ่อนทรุดโทรมลง ประสิทธิภาพการทำงานจึงลดลงในระยะยาว ยิ่งกว่านั้นในบางกรณี ผู้ดื่มอาจจะมีอาการตอบสนองต่อกาแฟมากกว่าปกติ จนทำให้เกิดอาการใจสั่น หงุดหงิด กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก เครียดง่าย เป็นต้น

ผลเสียของการดื่มกาแฟ


        แม้ว่ากาแฟจะมีผลดีมากมายดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทจะทำให้ผู้ป่วยที่มีระดับความเครียดที่สูงขึ้น การดื่มกาแฟจึงจะกระตุ้นให้คนที่มีความเครียดง่ายอยู่แล้วเกิดความเครียดมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กาแฟยังเป็นสารเสพติดอ่อนๆ ชนิดหนึ่ง ร่างกายจึงเกิดอาการติดกาแฟหากว่าดื่มทุกวันเป็นเวลานานพอ และจะเกิดภาวะขาดกาแฟหากไม่ได้ดื่ม ซึ่งทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่อยากทำงาน ซึมเศร้า ปวดศีรษะ อย่างไรก็ตาม ผลดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นอย่างถาวร แต่จะค่อยๆ หายไปหลังหยุดกาแฟไม่เกิน 1-2 สัปดาห์



นิโคติน (Nicotine)

         
         นิโคติน เป็นสารที่ทำให้คนติดบุหรี่ ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมองภายใน 7 วินาที นาน 5-120 นาที ทำให้เกิดการหลั่งสารอะซิติลโคลิน (Acetylcholine) นอร์อีพิเนฟริน (Norepinephrine) โดปามีน (Dopamine) และ เบต้า-เอนโดรฟิน (Beta-Endorphin) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปจับกับตัวรับแอเซทิลโคลีนแบบนิโคตินิก (Nicotinic acetylcholine receptors) จากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารโคตินิน (Nicotinin) ซึ่งจะยังคงอยู่ในกระแสเลือดนาน 48 ชั่วโมง บุหรี่หนึ่งมวนจะมีนิโคติน 0.1-2.8 มิลลิกรัม
         สารนิโคตินเป็นพิษกับระบบประสาท ผลของการจับกันระหว่างนิโคตินในปริมาณน้อยกับตัวรับทำให้มีการหลั่งของฮอร์โมนอะดรีนะลีน(Adrenaline) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) ความดันเลือด และอัตราการหายใจ รวมทั้งเพิ่มปริมาณของน้ำตาลลกลูโคสในกระแสเลือด และมีฤทธิ์ไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่หากได้รับนิโคตินที่มากในปริมาณหนึ่งส่งผลให้ไประงับการทำงานของตัวรับแอเซทิลโคลีน และเกิดอาการเป็นพิษของจากนิโคตินที่เปลี่ยนฤทธิ์จากกระตุ้นประสาทเป็นกด ประสาท ทำให้อาจถึงตายได้


         ผลกระทบที่เด่นชัดอย่างหนึ่งของนิโคตินคืออาการเสพติด ซึ่งงานวิจัยพบว่าเกิดจากการที่นิโคตินไปกระตุ้นวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกพึงพอใจ ซึ่งคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับผลของนิโคตินต่อการเพิ่มขึ้นของสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine)
ที่มา : 
http://haamor.com/th/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97/

http://www.thaiclinic.com/amphetamine.html

http://www.healthtoday.net/thailand/viewpoint/viewpoint_113.html

http://www.gotoknow.org/posts/481903

สืบค้นวันที่ 15 มิถุนายน 2557

No comments:

Post a Comment