Sunday, June 15, 2014

หน้าที่และองค์ประกอบของเซลล์ประสาท

             
         เซลล์ประสาท เป็นเซลล์ของระบบประสาทที่ถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้าได้ ซึ่งมีบทบาทในการส่งสารสื่อประสาท ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เซลล์ประสาทเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) ซึ่งอาจมีเซลล์ประสาทมากถึง 100 ล้านล้านเซลล์

            เซลล์ประสาทประกอบด้วยส่วนที่สำคัญสองส่วน คือ

       1. ตัวเซลล์ (cell body) ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4- 25 ไมโครเมตร ประกอบด้วย นิวเคลียสและไซโทพลาสซึม โดยมีของเหลวภายในเซลล์ที่เรียกว่า cytosol ที่มีเกลือโพแทสเซียมละลายอยู่มาก และมีออร์แกนเนลล์ที่สำคัญ ได้แก่ ไมโทคอนเดรีย เอนโดพลาสมิกเรติคิวลัมและกอลจิคอมเพล็กจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบกลุ่มของไรโบโซมทีเรียกว่า Nissl body
        2.ใยประสาท (nerve fiber) เป็นส่วนของเซลล์ที่ยื่นมาจากตัวเซลล์ มี 2 แบบ คือ
1) เดนไดรต์ (Dentrite) เป็นใยประสาทที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ ซึ่งเป็นส่วนของไซโทพลาสซึมที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ มีความยาวไม่มาก มีการแตกแขนงเล็ก ๆ จำนวนมาก พื้นผิวมีลักษณะขรุขระ ทำให้มีพื้นที่ผิวมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ที่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์มีโปรตีนที่เป็นตัวรับสารสื่อประสาทฝังอยู่
2) แอกซอน (axon) เป็นใยประสาทที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ ซึ่งเป็นส่วนที่ยื่นจากตัวเซลล์ตรงจุดที่เรียกว่า axon hillock เพียงเส้นเดียวนั้น แอกซอนมีความยาวตั่งแต่ 0.1-มากกว่า 2 เมตร การที่มีความยาวมาก จึงอาจเรียกว่า เส้นประสาท (nerve fiber)

แสดงโครงสร้างของเซลล์ประสาท
กรณีที่ใยประสาทยาว ซึ่งมักเป็นใยประสาทของแอกซอน จะถูกหุ้มด้วยเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) ที่มีสารจำพวกลิพิดเป็นองค์ประกอบ เมื่อตรวจดูภาคตัดขวางด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่าเยื่อไมอีลินติดต่อกับเซลล์ชวันน์ (Schwann cell) ซึ่งเป็นเซลล์ค้ำจุนชนิดหนึ่ง แสดงว่าเยื่อไมอีลินเป็นส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มเซลล์ชวันน์ ส่วนของแอกซอนตรงบริเวณรอยต่อระหว่างเซลล์ชวันน์แต่ละเซลล์เป็นบริเวณที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม เรียกว่า โนดออฟแรนเวียร์ (node of Ranvier)


แสดงโครงสร้างของเซลล์ประสาท เยื่อไมอีลิน และเซลล์ชวันน์
ปลายประสาท (nerve ending หรือ presynaptic terminals) เป็นบริเวณปลายสุดของแอกซอนที่จะเชื่อมกับเซลล์อื่น ๆ (อาจเป็นเซลล์ประสาทหรือเซลล์อื่น ๆ ก็ได้) รอยต่อระหว่างแอกซอนกับเซลล์อื่นๆ จะไม่แนบสนิท เรียกบริเวณนี้ว่า ไซแนปส์ (synapse) ช่องว่างระหว่างเซลล์เรียกว่า Synaptic cleft
การเกิดไซแนปส์ระหว่างเซลล์ประสาทสามารถเกิดได้ 3 แบบ คือ
 Axodentric synapse เป็นไซแนปส์ที่เกิดขึ้นระหว่างาแอกซอนกับเดนไดรท์
 Axosomatic synapse เป็นไซแนปส์ที่เกิดขึ้นระหว่างแอกซอนกับตัวเซลล์
 Axoaxonic synapse เป็นไซแนปส์ที่เกิดขึ้นระหว่างแอกซอนกับแอกซอน

 ชนิดของเซลล์ประสาท (แบ่งตามลักษณะ) 

เซลล์ประสาทแบ่งตามลักษณะเส้นใยประสาทที่ยื่นออกมาจากตัวเซลล์ เป็น 3 ประเภท คือ 

     1.เซลล์ประสาทขั้วเดียว ( Unipolar Neuron )เป็นเซลล์ประสาทที่มีใยประสาทแยกออกจากตัวเซลล์เพียง 1 เส้นใย ได้แก่ เซลล์รับความรู้สึกที่มีตัวเซลล์อยู่ในประสาทรากบนของไขสันหลัง

     2.เซลล์ประสาทสองขั้ว ( Bipolar Neuron)มีใยประสาทยื่นออกจากตัวเซลล์ 2 เส้น ตัวอย่างเช่นเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่เรตินา เซลล์รับกลิ่นและเซลล์รับเสียงที่หูชั้นในและบริเวณออลแฟกทอรีบัลบ์ในสมอง 

     3.เซลล์ประสาทหลายขั้ว (Multiipolar Neuron)มีใยประสาทยื่นออกจากตัวเซลล์หลายเส้น ได้แก่พวกเซลล์ประสาทสั่งการ และเซลล์ประสาทประสานงานในสมองและไขสันหลัง 
  

Saturday, June 14, 2014

ผลของยาเสพติดต่อระบบประสาท

ผลของสารเสพติดต่อสุขภาพและระบบประสาท

แอลกฮฮอล์

               แอลกอฮอล์ หรือ สุรา มีผลโดยตรงต่อระบบประสาท โดยกดการทำงานของระบบประ สาท การได้รับแอลกอฮอล์ขนาดสูงจะมีฤทธิ์คล้ายกับยาสลบ ได้แก่ ไม่รู้สึกตัว และกดการหาย ใจ แต่อาการในช่วงแรกๆของการดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ดื่มอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว เคลื่อนไหวมาก กว่าปกติ ตื่นตัว พูดมากขึ้น เนื่องจากช่วงแรกจะมีการเพิ่มขึ้นของสารสื่อประสาทที่ออกฤทธิ์กระ ตุ้นสมอง แต่เมื่อได้รับแอลกอฮอล์ปริมาณมากขึ้น พิษของแอลกอฮอล์ก็จะกดการทำงานของสมอง โดยเฉพาะ ก้านสมอง (Brain stem) และศูนย์ควบคุมการเต้นของหัวใจ (Reticular formation) ในก้านสมอง

พิษของแอลกอฮอล์ มีทั้ง แบบเฉียบพลัน และ แบบเรื้อรัง
  • แบบเฉียบพลัน หมายถึง ผู้ดื่มได้รับแอลกอฮอล์/สุราเข้าไปเป็นปริมาณมาก ส่งผลให้มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงขึ้นทันที แอลกอฮอล์ในเลือดระดับต่างๆจะส่งผลต่อระบบประ สาทดังนี้
    • ถ้าระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 30 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือดื่มสุรา 4 แก้วๆละ 1 ฝาขวดแม่โขง ผู้ดื่มจะมีอาการครึกครื้น สนุกสนานร่าเริง
    • ถ้าระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือดื่มสุรา 6 แก้วๆละ 1 ฝาขวดแม่โขง ผู้ดื่มจะมีอาการของการควบควบคุมการเคลื่อนไหวเสียไป ไม่สามารถควบคุมได้ดีเท่าภาวะปกติ
    • ถ้าระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือดื่มสุรา 12 แก้วๆละ 2 ฝาขวดแม่โขง ผู้ดื่มจะมีอาการเดินไม่ตรงทาง
    • ถ้าระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือดื่มสุรา 24 แก้วๆ ละ 2 ฝาขวดแม่โขง ผู้ดื่มจะเกิดอาการสับสน
    • ถ้าระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ผู้ดื่มจะมีอาการ ง่วง สับสน/งงงวย และซึม
    • ถ้าระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ผู้ดื่มจะเกิดอาการสลบ และอาจถึงตายได้

  • แบบเรื้อรัง หรือ โรคพิษสุราเรื้อรัง หมายถึงผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์/สุราอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เป็นระยะเวลานาน ส่วนใหญ่นานมากกว่า 10 ปี จนเกิดภาวะติดสุรา และมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ ต้องดื่มสุราตลอดเวลา ไม่สามารถควบคุมหรือหยุดหลังจากดื่มสุรา เมื่อหยุดสุราจะมีอาการลงแดง เช่น คลื่นไส้ เหงื่อออก สั่น ต้องเพิ่มปริมาณดื่มสุราขึ้นไปอีก และเพื่อให้มีความสุข ซึ่งเมื่อเกิดภาวะพิษสุราเรื้อรังนี้ ก็จะส่งผลให้ร่างกายส่วนต่างๆได้รับผล กระทบ เช่น
    • ตับ (โรคตับแข็ง)
    • ตับอ่อน (โรคตับอ่อนอักเสบ)


สารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับผลของแอลกอฮอล์


  • โอปีออยด์ (Opioids) เป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเอง เช่น Endorphin (เอนดอร์ฟิน) ออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายสดชื่น อารมณ์ดี แอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์โดยกระตุ้นสมองให้หลั่งสารโอปิออยด์ จึงพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ในระยะแรก ปริมาณไม่มาก จะทำให้อารมณ์ดี (Euphoria) เพราะร่างกายมีสารโอปิออยด์เพิ่มขึ้น


  • กาบา (Gamma-aminobutyric acid: GABA) เป็นสารสื่อประสาทที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำ งานของสมอง การดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มสาร GABA ผู้ดื่มจึงมีอาการง่วง และคลายความกังวล การเคลื่อนไหวผิดปกติ ในผู้ที่ดื่มเป็นประจำ เมื่อหยุดดื่มทันที ผู้ดื่มจะมีอาการตรงกันข้าม เนื่อง จากการทำงานของ GABA ลดลง จึงมีการกระตุ้นสมองมากขึ้น ก่อให้เกิดอาการกระวนกระวาย และอาการชักได้
  • กลูตาเมต (Glutamate) เป็นสารกระตุ้นการทำงานของสมอง แอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของกลูตาเมต เมื่อดื่มแอลกอฮอล์นานๆจะเกิดภาวะเป็นพิษ ส่งผลให้การรับรู้และการเรียนรู้เสียไป
  • สารสื่อประสาทอื่นๆ เช่น ซีโรโตนิน (Serotonin) และ โดปามีน (Dopamine) ก็ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทด้าน การเคลื่อนไหว อารมณ์ พฤติกรรม และความจำ

แอลกอฮอล์ส่งผลต่อระบบประสาทอย่างไร?

  • แอลกอฮอล์ปริมาณสูงจะส่งผล เช่น มึนเมา/ขาดสติ ซึม ปวดศีรษะ หมดสติ
  • การหยุดแอลกอฮอล์กะทันหันจะส่งผล เช่น สั่น ประสาทหลอน สับสน และชัก
  • ภาวะขาดสารอาหารจากโรคพิษสุราเรื้อรัง เช่น โรคเส้นประสาท ตาบอด สับสน และ สมองเสื่อม
  • ภาวะที่เป็นผลจากโรคพิษสุราเรื้อรัง เช่น สมองฝ่อ หัวใจโต กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ภาวะทางระบบประสาทที่เกิดจากโรคตับที่สาเหตุเกิดจากสุรา เช่น ตับแข็ง มะเร็งตับ ซึ่งส่งผลให้การทำงานของตับเสียไป จึงเกิดการคั่งของของเสีย/สารพิษที่ต้องถูกเผาผลาญโดยตับ เช่น เกิดการคั่งของสารไนโตรเจน (Nitrogen เช่น ในรูปแบบสารแอมโมนเนีย/Ammo nia) เป็นต้น ซึ่งปริมาณสารพิษเหล่านี้ที่สูงเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลเป็นพิษต่อสมองและระบบประ สาทส่วนอื่นๆด้วย จึงก่อให้เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาท เช่น สับสน นอนไม่หลับ/ไม่ง่วงนอน ขาดสมาธิ หลงลืม อาจถึงระดับโคม่า และเสียชีวิตได้

ยาบ้า (Methamphetamine)

               กลุ่มยาแอมเฟตามีน จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทกระตุ้นประสาท มีชื่อเรียกในกลุ่มผู้เสพว่ายาม้า หรือยาขยัน ปัจจุบันได้ถูกเรียกชื่อเป็นยาบ้าจัดเป็นยาที่มนุษย์ สังเคราะห์ขึ้นมาหลายตัว เช่น อีเฟดริน เมทแอมเฟตามีน เดกซ์แอมเฟตามีน และ เอ็กซ์ตาซี
ซึ่งเป็นแอมเฟตามีนในรุ่นที่สาม เป็นต้นฯ





การออกฤทธิ์ของยากลุ่มแอมเฟตามีน ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

1.ออกฤทธิ์กระตุ้นต่อระบบประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัวตลอดเวลา  นอนไม่หลับ
2.ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น
3.กดศูนย์ควบคุมการอยากอาหาร ทำให้เบื่ออาหาร ทานน้อยลง เป็นยาลดน้ำหนักได้
4.กระตุ้นศูนย์หายใจ ทำให้หายใจเร็วและแรงขึ้น
5.กระตุ้นระบบสมองส่วนหน้า  ทำให้เกิดอาการความคิดความอ่านแจ่มใสชั่วขณะ บางรายจะมีอาการสั่น




อาการของผู้เสพยาแอมเฟตามีน

         สำหรับผู้ที่เสพในปริมาณไม่มาก 20-30 กรัมต่อวัน           
           อาการที่มักจะตรวจพบ ได้แก่ เบื่ออาหาร ตื่นเต้นง่าย อยู่ไม่สุข มือสั่น ตัวสั่น เหงื่อออกมาก คลื่นไส้อาเจียน ผะอืดผะอมได้ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วและแรง อยู่ได้นานโดยไม่ต้องนอน ท้องเสียหรือท้องผูก ปาก และ จมูกแห้ง ริมฝีปากแตก ทำงานเกินปกติ หงุดหงิด ชอบทะเลาะวิวาท รูม่านตาเบิกกว้าง สูบบุหรี่จัด มวนต่อมวน



         ผลทางด้านจิตใจ
          จะเห็นได้ชัดเมื่อเสพเป็นจำนวนมาก จะเกิดอาการทางจิตเฉียบพลัน หรือเป็นบ้าขึ้นได้ชั่วระยะหนึ่ง อาการจะคล้ายผู้ป่วยโรคจิตหวาดระแวงเกิดอาการหลงผิด คิดว่ามีคนมาทำร้ายตนเอะอะคว้าอาวุธมาป้องกันตัวเอง หรือพยายามจะหนีซุกซ่อนตัวเอง พูดไม่รู้เรื่อง มักเห็นภาพหลอน ต่างๆนานา ซึ่งนำไปสู่อันตรายต่อตัวเองหรือผู้อื่น เช่นตกใจกลัวปีนตึกหรือเสา ถูกรถชน หรือหลงผิดว่า มีคนมาทำร้าย จึงทำร้ายผู้อื่นก่อน  บางรายที่ใช้ยามากๆอาจจะมีอาการไข้ขึ้น ความดันโลหิตสูงมาก ใจสั่น หายใจไม่ออก กล้ามเนื้อกระตุก ชัก หมดสติ ถึงตายได้



         เมื่อเสพเป็นระยะเวลายาวนาน 
           ทำให้สมองได้รับการกระตุ้นเสมอ โดยไม่ได้รับการพักผ่อน
ร่างกายฝืนให้ทำงานหนักตลอดเวลามีผลทำให้ร่างกายสุขภาพทรุดโทรมลงเกิดโรคตามมาง่าย เช่น
โรคติดเชื้อต่างๆ โรคตับอักเสบ โรคปอด ไตเสื่อม ผลต่อจิตใจเกิดอารมณ์แปรปรวน ภาวะทางจิตเสื่อมโทรมก่อให้เกิดโรคจิตเรื้อรังหรือบ้าได้ตลอดไป






คาเฟอีน (Caffeine)


“กาเฟอีน” สารสำคัญในเมล็ดกาแฟ

         นอกจากรสชาติและกลิ่นหอมเฉพาะตัวแล้ว กาแฟมีส่วนผสมที่สำคัญอีกอย่างที่เรียกว่า “กาเฟอีน” ซึ่งมีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทให้ตื่นตัว เมื่อกาเฟอีนถูกดูดซึมผ่านไปยังกระแสเลือดและไหลเวียนไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย จะเกิดการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ หลอดเลือด รวมถึงสมองและระบบประสาท การดื่มกาแฟจึงเปรียบเสมือนการเติมพลังงานให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวในการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะในยามที่ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียและต้องการพักผ่อน ซึ่งในเวลานั้นสมองของมนุษย์จะหลั่งสารสื่อประสาทติดต่อระหว่างเซลล์ประสาท ชื่อ “adenosine (อะ-ดิ-โน-ซีน)” ออกมา แต่พอเราดื่มกาแฟเข้าไป กาเฟอีนจะไปยับยั้งการทำงานของ adenosine ทำให้สมองเกิดอาการตื่นตัว ไม่ง่วงนอน นอกจากนี้กาเฟอีนยังมีผลต่อระบบขับถ่ายของเสียอีกด้วย 


         คาเฟอีนในกาแฟเป็นคาเฟอีนธรรมชาติที่มีฤทธิ์กระตุ้นต่อร่างกายชั่วคราวให้ร่างกายใช้พลังงานสำรอง(ไขมัน) โดยต้านการสลายของ c-AMP ที่ทำให้ต้องเพิ่มการสลายไกลโคเจนไปเป็นกลูโคส นอกจากกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารแล้ว ยังกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง(โดยเฉพาะส่วน Cerebral และ Medulla oblongata) และหัวใจโดยการไปยับยั้งการทำงานของอะดีโนซีน (Adenosine) ทำให้ปริมาณสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ต้องทำงานเพิ่มขึ้น ทำให้สมองตื่นตัวและมีสารซีโรโทนิน (Serotonin) ที่ทำให้เกิดความรู้สึกพอใจและมีความสุขเพิ่มขึ้น



ผลต่อระบบประสาทและสมอง

         การเพิ่มความตื่นตัว คลายง่วง และเพิ่มพลังความคิดของกาแฟเป็นผลที่บุคคลหลากหลายอาชีพต้องการ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาเตรียมสอบที่ต้องการอ่านหนังสือข้ามคืน แม่ค้าที่อยากให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าเวลาทำงาน หรือสถาปนิกที่อยากให้สมองโปร่งเพื่อคิดหาไอเดียใหม่ๆ แต่การดื่มกาแฟทำให้การตื่นตัวและประสิทธิภาพการทำงานของสมองดีขึ้นจริงหรือ

         การศึกษาโดยสถาบันวิจัยกองทัพแห่งสหรัฐอเมริกาได้พิสูจน์แล้วว่า กาแฟทำให้สมองมีความตื่นตัวและตอบสนองได้ฉับไวมากขึ้น แต่ผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองยังเป็นที่กังขาอยู่ นายแพทย์ Bennett Alan Weinberg ผู้แต่งหนังสือเรื่อง “โลกของกาเฟอีน” ได้กล่าวสรุปไว้ว่า “แม้ว่ากาแฟจะช่วยให้นักศึกษาจำนวนมาก อ่านหนังสือได้ทนทานขึ้นก็ตาม แต่ผลสรุปจากการทดลองต่าง ๆ ไม่ได้บ่งชี้ว่านักศึกษาเหล่านั้นมีความจำหรือการทำงานของสมองดีขึ้นแต่อย่างใด”


        คำกล่าวนี้เป็นการยืนยันว่า กาแฟเพียงแต่ทำให้หายง่วงนอนเท่านั้น ขณะที่ความจำและประสิทธิภาพสมองไม่ได้ดีขึ้นด้วยฤทธิ์ของกาแฟ นอกจากนี้การใช้กาแฟเพื่อลดอาการง่วงนอนในเวลากลางคืนอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ร่างกายและสมองที่ต้องการพักผ่อนทรุดโทรมลง ประสิทธิภาพการทำงานจึงลดลงในระยะยาว ยิ่งกว่านั้นในบางกรณี ผู้ดื่มอาจจะมีอาการตอบสนองต่อกาแฟมากกว่าปกติ จนทำให้เกิดอาการใจสั่น หงุดหงิด กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก เครียดง่าย เป็นต้น

ผลเสียของการดื่มกาแฟ


        แม้ว่ากาแฟจะมีผลดีมากมายดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทจะทำให้ผู้ป่วยที่มีระดับความเครียดที่สูงขึ้น การดื่มกาแฟจึงจะกระตุ้นให้คนที่มีความเครียดง่ายอยู่แล้วเกิดความเครียดมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กาแฟยังเป็นสารเสพติดอ่อนๆ ชนิดหนึ่ง ร่างกายจึงเกิดอาการติดกาแฟหากว่าดื่มทุกวันเป็นเวลานานพอ และจะเกิดภาวะขาดกาแฟหากไม่ได้ดื่ม ซึ่งทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่อยากทำงาน ซึมเศร้า ปวดศีรษะ อย่างไรก็ตาม ผลดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นอย่างถาวร แต่จะค่อยๆ หายไปหลังหยุดกาแฟไม่เกิน 1-2 สัปดาห์



นิโคติน (Nicotine)

         
         นิโคติน เป็นสารที่ทำให้คนติดบุหรี่ ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมองภายใน 7 วินาที นาน 5-120 นาที ทำให้เกิดการหลั่งสารอะซิติลโคลิน (Acetylcholine) นอร์อีพิเนฟริน (Norepinephrine) โดปามีน (Dopamine) และ เบต้า-เอนโดรฟิน (Beta-Endorphin) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปจับกับตัวรับแอเซทิลโคลีนแบบนิโคตินิก (Nicotinic acetylcholine receptors) จากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารโคตินิน (Nicotinin) ซึ่งจะยังคงอยู่ในกระแสเลือดนาน 48 ชั่วโมง บุหรี่หนึ่งมวนจะมีนิโคติน 0.1-2.8 มิลลิกรัม
         สารนิโคตินเป็นพิษกับระบบประสาท ผลของการจับกันระหว่างนิโคตินในปริมาณน้อยกับตัวรับทำให้มีการหลั่งของฮอร์โมนอะดรีนะลีน(Adrenaline) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) ความดันเลือด และอัตราการหายใจ รวมทั้งเพิ่มปริมาณของน้ำตาลลกลูโคสในกระแสเลือด และมีฤทธิ์ไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่หากได้รับนิโคตินที่มากในปริมาณหนึ่งส่งผลให้ไประงับการทำงานของตัวรับแอเซทิลโคลีน และเกิดอาการเป็นพิษของจากนิโคตินที่เปลี่ยนฤทธิ์จากกระตุ้นประสาทเป็นกด ประสาท ทำให้อาจถึงตายได้


         ผลกระทบที่เด่นชัดอย่างหนึ่งของนิโคตินคืออาการเสพติด ซึ่งงานวิจัยพบว่าเกิดจากการที่นิโคตินไปกระตุ้นวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกพึงพอใจ ซึ่งคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับผลของนิโคตินต่อการเพิ่มขึ้นของสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine)
ที่มา : 
http://haamor.com/th/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97/

http://www.thaiclinic.com/amphetamine.html

http://www.healthtoday.net/thailand/viewpoint/viewpoint_113.html

http://www.gotoknow.org/posts/481903

สืบค้นวันที่ 15 มิถุนายน 2557

Thursday, June 12, 2014

โรคระบบประสาท

               โรคระบบประสาท 

               คือ โรคที่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท ซึ่งได้แก่ตัวสมองและไขสันหลังรวมทั้งแขนงเส้นประสาททั่วร่างกาย ซึ่งมีพยาธิสภาพที่แสดงให้เห็นได้ โดยการตรวจร่างกายหรือโดยการทดสอบทางห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น การตรวจน้ำไขสันหลัง การเอ๊กซเรย์กระโหลกศีรษะ หรือการตรวจคลื่นสมอง เป็นต้น สาเหตุของโรคระบบประสาทไม่ได้เกิดจากอารมณ์หรือจิตใจ แต่เกิดจากพยาธิสภาพของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบประสาทเอง โรคระบบประสาทนี้ต้องการการรักษาด้วยาหรือด้วยการผ่าตัด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางประสาทวิทยา หรือประสาทศัลยศาสตร์

              สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพยาธิสภาพของสมองและไขสันหลัง ที่เรียกว่า โรคระบบประสาทนั้น มีมากมายหลายประการ คือ


๑. เกิดจากการกระทบกระเทือนของศีรษะและไขสันหลัง
               ปัจจุบันนี้มีความเจริญทางวัตถุของประเทศไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีเพิ่มมากขึ้น ถนนและยวดยานพาหนะก็มีเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ สถิติของอุปัทวเหตุบนท้องถนนเพิ่มขึ้นทุกปี ความกระทบกระเทือนทางศีรษะในอุปัทวเหตุบนท้องถนน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนต้องเสียชีวิต การกระทบกระเทือนของศีรษะทำให้เนื้อสมองที่อยู่ในกระโหลกศีรษะ ได้รับความกระทบกระเทือนมีการช้ำหรือมีการทำลายของเนื้อสมอง หรืออาจมีเลือดตกค้างเป็นก้อนอยู่ในกระโหลกศีรษะกดให้เนื้องสมองทำงานไม่ได้ตามปกติ ผู้ป่วยเหล่านี้ ควรได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ทางโรคระบบประสาทโดยทันที เพื่อการดูแลรักษาที่ถูกต้อง หวังผลที่จะไม่ให้มีหรือให้มีอาการแทรกซ้อนหรืออาการตามหลัง อันจะก่อให้เกิดความพิการของร่างกาย น้อยที่สุด

๒. เนื้องอกหรือมะเร็งของสมองและไขสันหลัง



               เนื้อสมองและไขสันหลังก็เหมือนกับอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงกายเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งขึ้นได้โดยไม่ทราบสาเหตุ ในรายเช่นนี้ผู้ป่วยจะมีอาการสำคัญ คือ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตามัว ค่อย ๆ ซึมลงจนถึงขั้นหมดสติได้ ผู้ป่วยเหล่านี้ควรจะได้รับการตรวจและวิเคราะห์โดยรวดเร็วทันท่วงที เนื้องอกหรือมะเร็งของสมองบางชนิด ถ้าได้รับการตรวจพบในระยะแรกก็อาจจะรักษาให้หายขาดได้ หรืออย่างน้อยอาจจะช่วยต่อชีวิตของผู้นั้นให้ยืนยาวกลับไปปฏิบัติงาน บำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัวและประเทศชาติอีกได้เป็นระยะเวลานาน

๓. โรคติดเชื้อของสมอง



               ในสมัยที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะ โรคติดเชื้อของสมองนับว่าเป็นโรคที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ในสมัยปัจจุบันซึ่งการแพทย์ก้าวหน้าไปเป็นอย่างมากแล้วนี้ โรคติดเชื้อของสมองซึ่งทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองหรือเนื้อสมองอักเสบและฝีในสมองได้ หากได้รับการรักษาทันท่วงทีก็มีโอกาสที่จะหายขาดได้ โรคติดเชื้ออีกโรคหนึ่งซึ่งพบได้ค่อนข้างบ่อยในประเทศไทย คือ วัณโรคของสมอง โรคนี้หากได้รับการวิเคราะห์ในระยะแรกของโรคก็อาจจะทำการรักษาให้หายขาดได้ โดยไม่ก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนหรือเกิดความพิการแก่สมอง

               พยาธิบางชนิด เช่น ตัวอ่อนของพยาธิตัวแบน ตัวจิ๊ดก็สามารถจะไปอาศัยอยู่หรือเคลื่อนไหวผ่านไปในเนื้อสมอง และทำให้เกิดพยาธิสภาพของสมองได้ โรคนี้เกิดจากการบริโภคหมูดิบหรือปลาที่มีตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้อยู่ ผู้ที่มีตัวอ่อนของพยาธิตัวแบนในเนื้อสมอง อาจมีอาการของลมบ้าหมูหรือมีอาการเสื่อมของสมองก่อนวัยได้ การป้องกันโรคทั้งสองนี้คือ จะต้องบริโภคหมูหรือปลาซึ่งได้รับการปรุงจนสุกแล้วทุกครั้ง


๔. พยาธิสภาพของสมองที่ผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด



               ภาวะนี้ประกอบด้วยโรคหลายชนิดด้วยกัน อาทิ เช่น สมองไม่เติบโตขณะที่อยู่ในครรภ์ ทำให้เด็กเกิดมามีสมองและศีรษะเล็ก ปัญญาอ่อน ในทางตรงกันข้าม เด็กบางคนเกิดมาปกติแต่มีลักษณะของศีรษะโตขึ้นอย่างเร็ว บางรายการเติบโตของสมองบางส่วนผิดปกติแทนที่จะมีเนื้อสมองกลับกลายเป็นถุงน้ำอยู่แทนที่ หรือมีถุงน้ำอยู่บริเวณหน้าผากหรือท้ายทอย เป็นต้น ความผิดปกติของการเติบโตของเนื้อสมองนี้ไม่สามารถจะป้องกันได้ แต่ภาวะบางอย่างก็สามารถจะแก้ไขหรือรักษาได้

๕. ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง



               หลอดเลือดสมองเป็นส่วนที่จะนำโลหิตไปหล่อเลี้ยงเนื้อสมอง เพื่อให้การทำงานเป็นไปโดยปกติ ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองมีได้หลายแบบ เช่น เส้นเลือดโป่งพองในขนาดต่าง ๆ เส้นเลือดแตกแขนงออกมากมายผิดไปจากปกติ ความผิดปกติเหล่านี้ อาจทำให้เนื้อสมองบางส่วนทำงานผิดจากหน้าที่เดิมไป อาจทำให้มีเลือดออกในสมองหรือใต้เยื่อหุ้มสมองอันอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ บางรายเป็นสาเหตุของโรคลมชัก ด้วยความเจริญก้าวหน้าของประสาทศัลยศาสตร์ในปัจจุบัน ความผิดปกติของเส้นเลือดสมองเหล่านี้ส่วนใหญ่สามารถทำการรักษาโดยการผ่าตัดได้

๖. ภาวะการเสื่อมสลายของเนื้อสมอง

               ซึ่งอาจเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปตามอายุขัยหรืออาจเกิดขึ้นเร็วก่อนกำหนด ภาวะนี้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเสื่อมสมรรถภาพ เริ่มด้วยความคิดและการดำเนินงานในธุรกิจประจำวันลดถอยลง ความจำเสื่อมลง และมีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพ ภาวะนี้บางรายสามารถตรวจวิเคราะห์ให้ทราบสาเหตุและรักษาได้ อย่างน้อยประสาทแพทย์ก็อาจจะช่วยชลอหรือหยุดอาการเสื่อมดังกล่าวได้ในบางราย

๗. โรคทางกายทั่วไปบางชนิด



               ก็อาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหรือพยาธิสภาพของสมองได้ ยกตัวอย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคขาดไวตามิน บี, โรคความดันโลหิตสูง, โรคตับ,โรคไต และโรคหัวใจ เป็นต้น ภาวะหลอดเลือดในสมองแตกหรือหลอดเลือดสมองอุดตัน เป็นพยาธิสภาพของสมอง ซึ่งพบได้บ่อยร่วมกับโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง สภาพดังกล่าวนี้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเป็นอัมพาต หรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ในกรณีเช่นนี้การป้องกันมีคุณประโยชน์มากกว่าการรักษาและการป้องกันดังกล่าวนี้ได้แก่การรักษาโรคปฐมเหตุ คือ โรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงเสียแต่ในระยะเริ่มแรก


๘. โรคระบบประสาทอีกชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ไม่น้อย
และไม่ทราบสาเหตุแน่นอน คือโรคสันนิบาติชนิดต่าง ๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอาการสั่น หรือมีการเคลื่อนไหวของแขนขาผิดปกติ

ที่มา : http://www.healthcarethai.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97/

สืบค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2557

Reflex

Reflex เป็นกลไกการตอบสนองที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากถูกกระตุ้น เกิดได้เนื่องจากมี synapse ของ sensory และ motor neuron โดยตรง 
spinal reflex ได้แก่
1.  spinal somatic reflex เช่น
-  stretch reflex เป็น reflex ที่เกิดเมื่อมีการยืดกล้ามเนื้อแล้วมีการหดตัวของกล้ามเนื้อทันที มีประโยชน์ในการทำให้กล้ามเนื้อมีความตึง และทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นไปได้อย่างราบเรียบ
-  flexor reflex เป็น reflex ที่เกิดเมื่อมีสิ่งกระตุ้นความรู้สึกต่อแขนขาแล้วทำให้กล้ามเนื้อ flexor ของแขนขาหดตัวอย่างรุนแรงเพื่อดึงแขนขาออกจากสิ่งกระตุ้น
2. spinal autonomic reflex
มีระบบประสาทออโตโนมิกเป็น motor pathway และ effector organs เป็นกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจและต่อมต่างๆเช่น มีการกระตุ้นให้มีการหลั่งเหงื่อจากการที่ผิวหนังสัมผัสกับความร้อน

รีเฟลกซ์อาร์ก (Reflex Arc)



มีอยู่ 2 แบบ คือ

1. รีเฟลกซ์อาร์กอย่างง่าย (Monosynaptic Reflex Arc) ประกอบด้วยเซลล์ประสาทเพียง 2 เซลล์ คือ เซลล์ประสาทรับความรู้สึกและเซลล์ประสาทนำคำสั่ง ซึ่งมีไซแนปส์ติดต่อกันโดยตรงที่ไขสันหลัง

2. รีเฟลกซ์อาร์กอย่างซับซ้อน (Polysynaptic Reflex Arc) เป็นวงจรของระบบประสาทที่ประกอบขึ้นด้วยเซลล์ประสาท 3 เซลล์ คือ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก เซลล์ประสาทประสานงาน และเซลล์ประสาทนำคำสั่ง มีไซแนปส์เกิดขึ้น 2 แห่ง คือ ระหว่างเซลล์ประสาทรับความรู้สึกกับเซลล์ประสาทประสานงาน และระหว่างเซลล์ประสาทประสานงานกับเซลล์ประสาทนำคำสั่ง


ที่มา:
https://docs.google.com/document/d/1g-u6zfCuF4zaWOGhnyO0jgYUnY1T47aHjRxSOWg1wAc/edit
http://panupongpromsorn.blogspot.com/2010/11/reflex-arc.html
สืบค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2557

CNS PNS

ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ระบบประสาทกลาง หรือ ซีเอ็นเอส(central nervous system - CNS) และ ระบบประสาทนอกส่วนกลาง หรือ พีเอ็นเอส (peripheral nervous system - PNS)      

     ระบบประสาทกลาง ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง
     ระบบประสาทนอกส่วนกลาง ประกอบด้วยเส้นประสาทและนิวรอนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทกลาง โดยทั่วไปเรียกส่วนหลักของระบบประสาทนอกส่วนกลางว่า เส้นประสาท (ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็น แกนประสาท หรือ แอกซอน (axon) ของเซลล์ประสาท) ระบบประสาทนอกส่วนกลางยังสามารถแบ่งออกเป็นระบบประสาทกาย (somatic nervous system) และระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system)

CNS
ระบบประสาทกลาง ประกอบด้วย สมอง และไขสันหลัง

สมอง

สมอง (brain) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน

     สมองส่วนหน้า (forebrain หรือ prosencepphalon) ประกอบด้วย
          เทเลนเซฟาลอน (telencephalo) หรือ สม องใหญ่ (cerebrum)
          ไดเอนเซฟาลอน (diencephalon)
ประกอบด้วยไฮโปทาลามัส(hypothalamus) ทาลามัส (thalamus)
     สมองส่วนกลาง (midbrain หรือ mesencephalon) ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลางของรีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการมองเห็น (visual reflex) และรีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการได้ยิน (auditory reflex) ประกอบด้วย
         ซีรีบรัล พีดังเคิล (cerebral peduncle) และคอร์พอรา ควอไดรเจมินา (corpora quadrigemina) ซึ่งแบ่งออกเป็น ซุพีเรียร์ คอลลิคูไล (superior colliculi) 2 พู (lob) และอินฟีเรียร์ คอลลิคูไล (inferior colliculi) 2 พู
     สมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) ประกอบด้วย
         เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongate)
          สมองน้อย หรือ ซีรีเบลลัม (cerebellum)
          พอนส์ (pons)


สมอง มี 2 ชั้น (ตรงข้ามกับไขสันหลัง)
    เนื้อเทา (Gray matter) เป็นที่อยู่ของกระแสประสาทและแกนประสาท ที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
    เนื้อขาว (White matter) เป็นที่อยู่ของแกนประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม

เยื่อหุ้มสมอง
เยื่อหุ้มสมอง (Meninges) 3 ชั้น คือ
      เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (Dura mater) เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน
      เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Arachoid mater) เป็นเยื่อบางๆ
      เยื่อหุ้มสมองชั้นใน (Pia mater) มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงสมอง ในระหว่างชั้นกลางกับชั้นในจะมีการบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง โดยจะทำหน้าที่ให้สมองและไขสันหลังเปียกชื้นอยู่เสมอ

ไขสันหลัง
ไขสันหลัง (spinal cord) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ
    เนื้อขาว (White matter) เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
    เนื้อเทา (Gray matter) เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาทซึ่งมีทั้งประเภทประสานงานและนำคำสั่ง

โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง
ปีกบน (dorsal horn) เป็นบริเวณรับความรู้สึก
ปีกล่าง (ventral horn) เป็นบริเวณนำคำสั่ง
ปีกข้าง (lateral horn) เป็นบริเวณระบบประสาท








PNS แบ่งเป็น
    ระบบประสาทกาย(somatic nervous     system)
         มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและรับสิ่งเร้า (stimulus) ต่าง ๆ จากภายนอกร่างกาย ระบบประสาทอิสระเป็นส่วนที่ไม่สามารถสั่งงานได้และมีหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายในต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ, ปอด เป็นต้น
    ระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system)  แบ่งเป็น
       > ระบบประสาทซิมพาเทติก
      (sympathetic nervous system)
ซิมพาเทติกจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นอันตรายหรือสถานการณ์ที่ตึงเครียด ระบบประสาทอันนี้ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและเพิ่มความดันเลือด และเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น
        >ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก
       (parasympathetic nervous system)
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานตรงกันข้ามกับระบบประสาทซิมพาเทติก กล่าวคือ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานเมื่อร่างกายรู้สึกผ่อนคลายหรือกำลังพัก มีผลทำให้รูม่านตาหดตัว, หัวใจเต้นช้าลง, เส้นเลือดขยายตัว และกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหาร, ระบบสืบพันธุ์ และระบบขับถ่ายทำงานอีกด้วย
http://th.m.wikipedia.org/wiki/ระบบประสาท